อุทยานเเห่งชาติเขานัน
อุทยานแห่งชาติเขานัน มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอนบพิตำ อำเภอท่าศาลา และอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงทอดยาวตามแนวเหนือ-ใต้ สลับซับซ้อน โดยเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขานครศรีธรรมราช สภาพป่าเป็นป่าดงดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช และประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ และมีค่า มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกสุนันทา (น้ำตกเขานัน) น้ำตกกรุงนาง น้ำตกคลองเผียน ถ้ำกรุงนาง น้ำตกเขาใด เป็นต้น มีเนื้อที่ประมาณ 272,500 ไร่ หรือ 436 ตารางกิโลเมตร
ประวัติ
ในการสำรวจเบื้องต้นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่ากรุงชิง ป่าเขานัน และป่าคลองเผียน ซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอท่าศาลา และอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งพื้นที่ที่ทำการสำรวจนี้เป็นพื้นที่ติดต่อผืนเดียวกัน กับอุทยานแห่งชาติเขาหลวง และอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขานครศรีธรรมราช อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ากรุงชิง ป่าเขานัน และป่าคลองเผียน ท้องที่อำเภอท่าศาลา อำเภอสิชล กิ่งอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ประมาณ 388,232 ไร่ หรือ 601 ตารางกิโลเมตร ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1627/2532 ให้ นายลือสัก สักพันธ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางพบมีการบุกรุกแผ้วถางป่า และทำไม้อยู่เป็นบางส่วนแต่ในอุทยานแห่งชาติเขานัน มีกำลังเจ้าหน้าที่ และงบประมาณไม่เพียงพอ ต่อการที่จะออกตรวจป้องกันและปราบปราม ซึ่งในการดำเนินการสำรวจในครั้งนี้ไม่แล้วเสร็จเนื่องจากไม่ได้กำหนดบริเวณพื้นที่ และไม่ได้จัดทำแผนที่แสดงแนวเขตที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ
ดังนั้นอุทยานแห่งชาติเขานัน จึงได้จัดทำรายการสำรวจเพิ่มเติม และกำหนดบริเวณ พื้นที่พร้อมทั้งจัดทำแผนที่ แสดงแนวเขตที่จะประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือของกองอุทยานแห่งชาติที่ กษ 0713(ขน)/30 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และให้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามหนังสือของสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ กษ 0712.3/2822 ลงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 และตามมติคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2535 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2535 ตามระเบียบวาระที่ 4 เห็นชอบให้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติเขานันในท้องที่ตำบลกรุงชิง ตำบลนบพิตำ กิ่งอำเภอนบพิตำ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอท่าศาลา และตำบลเขาน้อย ตำบลฉลอง ตำบลเทพราช ตำบลเปลี่ยน อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และดำเนินการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป ปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชกำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่ง
ชาติ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด
ที่ตั้ง: | อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย |
จัดตั้ง: | 17 มิถุนายน พ.ศ. 2542 |
พื้นที่ | 90,625 ไร่ (145 ตร.กม.) |
นักท่องเที่ยว: | 9,502[1] คน (ปีงบประมาณ 2550) |
ดูแลโดย: | สำนักอุทยานแห่งชาติ |
ประวัติ
พื้นที่บริเวณน้ำตกสี่ขีด อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ายางโพรงและป่าเขาใหญ่ ท้องที่ตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ที่มีทิวทัศน์ธรรมชาติสวยงาม เช่น น้ำตก เกาะแก่ง แอ่งน้ำ โขดหิน และพันธุ์ไม้ตระกูลต่างๆ มากมาย สมควรที่จะได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชจึงได้กำหนดพื้นที่นี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอสิชล และเพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายดังกล่าว อำเภอสิชล จึงรณรงค์จัดทำโครงการอนุรักษ์ป่าเพื่อชุมชนบริเวณน้ำตกสี่ขีดและเสนอกรมป่าไม้พิจารณาจัดตั้งเป็นวนอุทยานต่อไป เพื่อเป็นการรักษาสภาพภูมิประเทศอันสวยงามและอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารสำหรับราษฎรได้ใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียงน้ำตกได้ถูกราษฎรบุกรุกทำลายป่าเพื่อครอบครองที่ดินอย่างกว้างขวาง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้และในเรื่องนี้ อธิบดีกรมป่าไม้ ( นายชำนิ บุญโยภาส ) ได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งพื้นที่บริเวณน้ำตกสี่ขีด ในป่าสงวนแห่งชาติป่ายางโพรงป่าเขาใหญ่เป็นวนอุทยานเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2529 แต่การดำเนินงานต้องหยุดชะงักลงเพราะปัจจัยข้อกำหนดด้านงบประมาณ จนกระทั่งปีงบประมาณ 2532 จึงได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการได้ และเนื่องจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่ายางโพรงและป่าเขาใหญ่ มีอาณาเขตกว้างขวาง ประมาณ 90,625 ไร่ มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามมากมายหลายแห่ง เช่น น้ำตกสี่ขีด น้ำตกสำนักเนียน ถ้ำเขาพับผ้าและถ้ำสวนปราง เป็นต้น เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญที่หล่อเลี้ยงการเกษตรกรรมของอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างชุกชุม ประกอบกับพื้นที่นี้ในสถานการณ์ปัจจุบันได้ถูกราษฎรบุกรุกแผ้วถางทำลายป่า เพื่อจับจองที่ดินอย่างกว้างขวางและรุนแรง กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่ง ที่ 584/2532 ลงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2532 ให้ นายสมพล ศิลปธีรธร นักวิชาการป่าไม้ 4 กองอุทยานแห่งชาติ ไปปฏิบัติงานประจำทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานน้ำตกสี่ขีด และให้ดำเนินการสำรวจเพิ่มเติมพื้นที่บริเวณใกล้เคียงที่มีความเหมาะสมเพื่อประกอบการพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป ซึ่งในการสำรวจครั้งนี้ ครอบคลุมพื้นที่ป่าใกล้เคียงในเขตท้องที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าชัยครามและป่าวัดประดู่ อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของป่าสงวนแห่งชาติป่ายางโพรงและป่าเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง | |
ที่ตั้ง: | อำเภอฉวาง อำเภอนาบอน และอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย |
จัดตั้ง: | 17 มิถุนายน พ.ศ. 2542 |
พื้นที่ | 128,125 ไร่ (205 ตร.กม.) |
นักท่องเที่ยว: | 9,502[1] คน (ปีงบประมาณ 2550) |
ดูแลโดย: | สำนักอุทยานแห่งชาติ |
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอฉวาง อำเภอนาบอน และอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ ประกอบด้วยทิวทัศน์และน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกโยง น้ำตกหนานปลิว เหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ศึกษาหาความรู้ ทั้งเป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญ อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 202.68 ตารางกิโลเมตร หรือ 126,675 ไร่
ประวัติ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง เป็นอุทยานแห่งชาติที่สำคัญเนื่องจากมีพื้นที่ซึ่งเป็นเทือกเขาสูงทอดยาว มียอดสูงสลับซับซ้อนทำให้เกิดทิวทัศน์ที่สวยงาม และเป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง ประกอบกับมีสภาพป่าดงดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ ดังนั้นจึงมีความสำคัญต่อวงจรชีวิตของพืช และสัตว์ป่า และสภาพแวดล้อมข้างเคียงด้วย- พ.ศ. 2528 กรมป่าไม้ได้รับหนังสือจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้ไปตรวจเยี่ยมราษฎร และได้รับการร้องขอให้ดำเนินการปรับปรุง ป้องกันบริเวณน้ำตกปลิว 1,2 ตำบลนาหลวงเสน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ และมีน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง ราษฎรในพื้นที่ให้การสนับสนุนและประสงค์จะให้มีการอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ
- พ.ศ. 2529 นายสัมพันธ์ ทองสมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีหนังสือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอให้ประกาศพื้นที่ป่าเขาพระสุเมรุ (เขาเหมน) เป็นอุทยานแห่งชาติโดยเร่งด่วน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ให้กรมป่าไม้ดำเนินการตรวจสอบบริเวณพื้นที่ป่าดังกล่าวปรากฏว่ามีสภาพป่าสมบูรณ์มาก เห็นควรอนุรักษ์ได้เป็นอุทยานแห่งชาติ
ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 8 องศา 09 /-8 องศา 21/เหนือ และอยู่ระหว่างเส้นแวงที่ 99 องศา 38/ - 99 องศา 50/ตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 128,125 ไร่ หรือประมาณ 205 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม พื้นที่ดังนี้- ทิศเหนือ ติดต่ออำเภอช้างกลาง และอำเภอลานสกา
- ทิศใต้ ติดต่ออำเภอทุ่งสง และอำเภอร่อนพิบูลย์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอลานสกา และอำเภอร่อนพิบูลย์
- ทิศตะวันตก ติดต่ออำเภอนาบอน และอำเภอช้างกลาง
การใช้ที่ดินและแบ่งส่วนใช้สอย
พื้นที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้- ส่วนราชการ เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทางวิชาการ มีดังนี้ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง, ห้องพัสดุ, ห้องวิทยุ, ห้องประชุม, ลานจอดรถเจ้าหน้าที่และชุดม้านั่ง
- ส่วนบ้านพัก บ้านพักมีไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว ที่มาใช้บริการและต้องการพักผ่อนหรือค้างคืน และบ้านพักที่มีไว้สำหรับเจ้าหน้าที่
- ส่วนบริการและนัทนาการ ซึ่งสร้างความสะดวกและความสวยงาม และความประทับใจให้แก่ผู้ใช้บริการ ทั้งบุคคลภายในและภายนอกพื้นที่โครงการ เช่น ที่จอดรถ, โรงอาหาร, พื้นที่พักผ่อน, ห้องน้ำ, หอประชุม
ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง ตั้งอยู่บนคาบสมุทรทำให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมที่พัดผ่านทะเลทั้งสองด้าน ฝนตกเกือบตลอดทั้งปี ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม มีอากาศค่อนข้างเย็นและฤดูร้อนจะอยู่ระหว่างเดือนมกราคม-เดือนเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยโดยประมาณ 26 องศาเซลเซียส สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป อยู่ในภูมิอากาศเขตร้อนชื้น มีฝนตกชุกเกือบทั้งปี มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี 2,000-3,000 มิลลิเมตร บางแห่งสูงกว่า 4,000 มิลลิเมตรพรรณไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าทั่วไปเป็น- ป่าดิบชื้น มีพันธุ์ไม้ที่มีค่าและมีขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ยาง หลุมพอ ตะเคียนทอง นาคบุตร กระบาก เสียดช่อ เลือดนก ขนุนปาน จำปา พิกุลป่า ก่อ รักเขา กระท้อน สะตอ เหรียง ฯลฯ พืชพื้นล่างมีจำพวกเฟินต้นชนิดต่างๆ พืชตระกูลขิงข่า ไม้เลื้อย และเถาวัลย์ขึ้นเกาะตามไม้ใหญ่มากมาย
- ป่าดิบเขา เป็นป่าที่มีความโปร่งกว่าป่าดิบชื้นอยู่ในระดับความสูง 800 เมตรขึ้นไป เนื่องจากมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่น้อย พันธุ์ไม้เด่นได้แก่ ก่อตาหมู ก่อนก ก่อเดือย ก่อแป้น พืชพื้นล่างที่พบได้แก่ มังเส เฟิน มอส กล้วยไม้ดิน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น